วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2555

การปลูกผักสวนครัว


การปลูกผักสวนครัว

 ผักสวนครัว คือผักที่ปลูกไว้ในบริเวณบ้านหรือที่ว่างต่าง ๆ ในชุมชนต่าง ๆ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปลูกไว้สำหรับรับประทานเองภายในครอบครัวหรือชุมชน การปลูกผักสวนครัวไว้รับประทานจะทำให้ผู้ปลูกได้รับประทานผักสดที่อุดมด้วย วิตามินและเกลือแร่ต่าง ๆ มีความปลอดภัยจากสารเคมี ลดรายจ่ายในครัวเรือน และที่สำคัญทำให้สมาชิกในครอบครัวมีกิจกรรมร่วมกันในการปลูกผักเพื่อเกิด สัมพันธ์ที่ดีภายในครอบครัว โดยทั่วไปคนต้องมีการบริโภคผักอย่างน้อย วันละ 200 กรัม เพื่อให้ได้สารอาหารครบถ้วน
ประโยชน์ของการปลูกผักสวนครัว
           ปลูกเป็นรั้วบ้าน (รั้วกินได้) ผักที่สามารถนำมาปลูกทำเป็นรั้ว ได้แก่ กระถินบ้าน ชะอม ตำลึง ผักหวาน ผักปลัง ต้นแค ถั่วพู มะระ ฯลฯ ซึ่งเป็นผักที่ปลูกง่ายและให้ผลผลิตตลอดปีมีคุณค่าทางอาหารสูงและปลอดภัยจาก สารเคมีสามารถใช้ประดับตกแต่งบริเวณบ้าน เช่น จัดสวนผักสวนครัว การปลูกต้นแคเป็นรั้วกินได้ การนำผักสวนครัวที่ปลูกในกระถางแบบแขวน-ห้อยมาตกแต่งบริเวณรอบ ๆ บ้าน
ใช้พื้นที่ส่วนที่ว่างเปล่าให้เกิดประโยชน์           
ลดค่าใช้จ่ายในการซื้อผักมาประกอบอาหารประจำวัน           
 ครอบครัวได้รับประทานผักที่มีคุณค่าทางอาหารครบถ้วนและปลอดภัยจากสารเคมี           
 สร้างความสัมพันธ์และสานสายใยรักที่ดีในครอบครัวและใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ไอ้ฮ๊อทคับ



สื่อนอกเชิดชูพระอัจฉริยภาพในหลวง แก้ปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืน




สำนัก ข่าวระดับโลกเผยแพร่รายงานเชิดชูพระอัจฉริยภาพของในหลวง ที่ทรงวางโครงการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างยั่งยืนท่ามกลางการเจริญเติบโตทาง เศรษฐกิจ เรื่องที่ประชาชนไม่ได้ให้ความสำคัญมากนักจนกระทั่งต้องเผชิญมหาอุทกภัย ครั้งเลวร้าย
     
       บทความเรื่อง In Thailand, a battle royal with water ระบุว่าอุทกภัยครั้งเลวร้ายที่สุดของไทยคือสิ่งที่พระองค์พยายามอย่างหนัก สำหรับหาทางปกป้องมาตลอด พระองค์ทรงเคยเตือนแต่ไม่มีใครใส่ใจต่อการถึงการพัฒนารวดเร็วเกินไปและทรงมี แนวคิดต่างๆเพื่อบรรเทาความเสียหายจากการหนุนของน้ำทะเลในแต่ละปี นอกเหนือจากการรับมือกับฤดูน้ำหลาก
      
       วิกฤตของประเทศไทยจากน้ำท่วมใหญ่เวลานี้ ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนเกือบ 400 รายและ พลเมืองนับแสนต้องกลายเป็นผู้อพยพ เป็นทั้งบทเรียนที่แสนแพงจากการละเลยคำเตือนของพระองค์และการฝืนควบคุมพลัง ธรรมชาติที่มีศักยภาพเหนือกว่ากำลังของมนุษย์
      
       ในบทความของเอพียังอ้าง นักวิเคราะห์จากต่างประเทศตั้งข้อสังเกตด้วยว่า ขณะนี้ประเทศไทยไม่มีผู้หนึ่งผู้ใดที่มีความสามารถในการประสานงาน และวางแผนการจัดการน้ำให้แก่หน่วยงานที่รับผิดชอบได้ทัดเทียมพระองค์ บางสิ่งที่หลายคนวิจารณ์ว่าไทยขาดแคลนโดยสิ้นเชิง
      
       แม้ในเวลานี้ที่เมืองหลวงของไทยกำลังดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อต่อสู้กับมวลน้ำ ที่ไหลหลั่งมา พระองค์ก็ยังทรงแนะนำถึงแนวทางการผันน้ำจากทางตอนเหนือลงสู่ทะเลโดยตรง ซึ่งเป็นหนทางที่ดีที่สุด แต่ไม่เหมือนกับในอดีตเพราะพระสุรเสียงของพระองค์ก็ไม่อาจดลใจให้ภาครัฐ ดำเนินการตามที่พระองค์มีรับสั่งได้
      
       เอพีระบุว่าในหลวงทรงมีผลงานด้านการจัดการน้ำโครงการแรกเมื่อปี 1963 โดยทรงสร้างเขื่อนกั้นน้ำจืดเพื่อป้องกันน้ำทะเลปนเปื้อนในแหล่งน้ำจืดที่ อำเภอหัวหิน และจนถึงวันนี้ทรงมีโครงการในพระราชดำริมากกว่า 4,300 โครงการ โดยร้อยละ 40 ของโครงการเหล่านั้นเป็นโครงการบริหารจัดการน้ำ
      
       เดวิด เบลค ผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการน้ำแห่งมหาวิทยาลัยอีสต์ แองเกลีย ประเทศอังกฤษ ซึ่งทำวิจัยเกี่ยวกับโครงการจัดการน้ำในประเทศไทย กล่าวว่า "นโยบายด้านการบริหารจัดการน้ำของประเทศไทยส่วนใหญ่มาจากพระราชดำริ โครงการในพระราชดำริ และการดำเนินการตามแนวพระราชดำริ ที่พระองค์ทรงทุ่มเทเวลากว่า 40 ปี ในการดำเนินการ"
      
       "แม้ในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจเอเชียเฟื่องฟู พระองค์ก็ทรงเฝ้าเตือนประชาชนเกี่ยวกับอุทกภัย การจราจรติดขัดและความทุกข์ยากต่างๆ" นายโดมินิค เฟาล์เดอร์ บรรณาธิการอาวุโสหนังสือเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่กำลังจะตีพิมพ์กล่าว "แต่น่าเสียดายที่คำเตือนนั้นเป็นรื่องที่ผู้คนจำนวนมากไม่อยากได้ยิน เปรียบได้ดั่งยาขมที่ทุกคนไม่ต้องการรับประทาน"
      
       เขาบอกต่อว่า "พระองค์ทรงมุ่งหวังพยายามคลี่คลายปัญหา ทว่าก็ถูกโต้เถียงจากนักการเมือง และข้อเท็จจริงก็คือสิ่งที่เรากำลังได้เห็นในตอนนี้"




       บทความของเอพีระบุว่าพระองค์ทรงตั้งชื่อโครงการป้องกันน้ำท่วมกรุงเทพฯ ว่า "แก้มลิง" โดยอธิบายจากพฤติกรรมของลิงที่พระองค์ทรงเลี้ยงครั้งยังทรงพระเยาว์ ที่เก็บอาหารไว้ที่กระพุ้งแก้มให้ได้มากที่สุดก่อนที่จะกลืนลงคอในภายหลัง
     
       ทั้งนี้น้ำทางเหนือที่กำลังมุ่งสู่กรุงเทพฯ จะถูกเปลี่ยนทิศไปยังแก้มลิง ก่อนจะไหลลงทะเลหรือเข้าสู่ระบบชลประทานอย่างรวดเร็ว โดยโครงการนี้ยังรวมไปถึงการสร้างแหล่งเก็บน้ำต่างๆเช่น บ่อ ลำคลอง และประตูน้ำ พร้อมๆกับการปรับปรุงระบบการระบายน้ำในกรุงเทพฯ จนทำให้เมืองหลวงแห่งนี้ไม่เผชิญกับปัญหาน้ำท่วมนานกว่าทศวรรษ
      
       เบลค กล่าวว่าอย่างไรก็ตามในโครงการนี้จะมีชุมชนบางส่วนรอบกรุงเทพฯต้องเสียสละ เพื่อปกป้องใจกลางเมืองหลวง และบางครั้งหน่วยราชการก็ผันน้ำเข้าท่วมพื้นที่การเกษตรแทนที่จะเป็นแหล่ง เก็บน้ำ อย่างไรก็ตามเวลานี้พื้นที่ที่สามารถเป็นแก้มลิงทั้งทางตะวันตก ตะวันออกและทางเหนือของเมือง กลายสภาพเป็นเขตอุตสาหกรรม บ้านเรือนราษฎร สนามกอล์ฟและสนามบินนานาชาติไปเสียแล้ว
      
       ในช่วงต้นปี 1971 พระองค์ทรงเคยเตือนว่าการตัดไม้ทำลายป่าในผืนป่าทางเหนือของประเทศอาจจุดนวน อุทกกภัยในอนาคต เนื่องจากจะไปลดประสิทธิภาพของดินในการดูดซับน้ำ และวันนี้ก็เป็นที่ยอมรับแล้วว่ามันมีส่วนเกี่ยวข้องกับอุทกภัยครั้งนี้ด้วย
      
       ขณะที่ ดร.สุเมธ ตันติเวชกุล เลขาธิการมูลนิธิชัยพัฒนา กล่าวว่า พระองค์ทรงให้ความสำคัญกับการจัดการน้ำอย่างยั่งยืน พระองค์ที่ทรงเป็นศูนย์รวมใจของคนไทยทั้งประเทศ ส่งเสริมให้เรื่องการบริหารจัดการน้ำเป็นวาระแห่งชาติ







ที่มาจาก 

http://www.fisho.com/blog/rat/blog.php?id=8069 ขอขอบคุณครับ